การที่จะออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้องคำนึงถึงความสะดวกในการใช้ ความปลอดภัยในการบริโภค และยังรวมถึงดีไซน์สวยๆที่ทำให้สินค้าดูมีคุณภาพ หากแบบบรรจุภัณฑ์ไม่น่าเชื่อถือ หรือไม่น่าซื้อใช้ สินค้าคุณจะดีแค่ไหนก็ลำบากที่จะทำกำไรได้สูงๆ เรามาดูกันว่าต้องคำนึงถึงข้อไหนบ้างที่จะออกแบบบรรจุภัณฑ์แล้วจะประสบความสำเร็จ
คือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ และการผลิตสิ่งบรรจุหรือห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ เพื่อ ความปลอดภัยและประโยชน์ใช้สอย เป็นเครื่องมือในการกำหนดโปรแกรมการตลาด เพิ่มโอกาสในการสร้างกำไร
1. บรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่ง (Primary packaging) หมายถึง บรรจุภัณฑ์ที่มาห่อหุ้มตัวสินค้า เพื่อป้องกันรักษาไม่ให้ตัวสินค้าได้รับความเสียหาย หรือเพื่อความสะดวกในการนำไปใช้งาน ตัวอย่างเช่น หลอดยาสีฟัน
2. บรรจุภัณฑ์ขั้นที่สอง (Secondary packaging) หมายถึง บรรจุภัณฑ์ที่มาห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวสินค้าได้รับความเสียหาย อีกทั้งยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้า ช่วยในการขายสินค้าโดยการดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค
3. บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Shipping packaging) หมายถึง บรรจุภัณฑ์ที่ทำหน้าที่ในการเก็บรักษาและขนส่งสินค้า ตัวอย่างเช่น ลัง ตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น
ป้ายฉลากเป็นส่วนหนึ่งที่มาควบคู่กับบรรจุภัณฑ์ โดยเป็นส่วนที่ให้ข้อมูล รายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับสินค้า แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. ป้ายฉลากแสดงตราสินค้า (Brand label) 2. ป้ายฉลากแสดงคุณภาพของสินค้า (Grade label) 3. ป้ายฉลากแสดงรายละเอียดของสินค้า (Descriptive label) ตัวอย่างเช่น วิธีการใช้ ส่วนประกอบ สถานที่ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต/หมดอายุ เป็นต้น
ข้อความเด่นชัด กะทัดรัด เข้าใจง่าย ให้รายละเอียดที่สำคัญแก่ลูกค้าครบถ้วน ข้อมูลที่ปรากฏเป็นข้อเท็จจริง สามารถพิสูจน์ได้