ในการเริ่มดำเนินธุรกิจหรือกิจการใดๆ ทั้งเพื่อการค้า เอกชน หรือแม้กระทั่งงานราชการ หนึ่งสิ่งสำคัญที่ควรจะต้องคำนึงถึงนั่นคือการออกแบบ " โลโก้ " ที่เปรียบเสมือนหน้าตาขององค์กร และจะเป็นตัวแทนในการสื่อสาร เตือนความทรงจำ รวมถึงทำให้เกิดผลด้านการสื่อความหมายที่ชัดเจนต่อสาธารณชน ซึ่งการจะทำให้โลโก้เป็นที่จดจำและสะท้อนให้ผู้ที่พบเห็นสามารถรับรู้ถึงนิสัย และภาพรวมของแบรนด์ หน่วยงาน หรืองค์กรนั้นๆ ได้ ล้วนต้องเกิดจากการออกแบบที่ดี
วันนี้ All Idea Studio จึงได้รวบรวมวิวัฒนาการของโลโก้แบรนด์ดังระดับโลกที่ได้รับการออกแบบอย่างน่าสนใจมาฝากกัน
Apple Inc.
โลโก้แบบแรกของแอปเปิ้ลในปี 1976 มีลักษณะคล้ายกับอัศวินนักรบ ซึ่งออกแบบโดย Ronald Wayne หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแอปเปิ้ล โดยเป็นรูปของเซอร์ไอแซค นิวตัน นั่งอยู่ใต้ต้นไม้ มีผลแอปเปิ้ลห้อยอยู่เหนือหัวของเขา และบริเวณกรอบรูปจะมีข้อความที่เขียนไว้ว่า "Newton… A Mind Forever Voyaging Through Strange Seas of Thought … Alone" หรือ นิวตัน...จิตที่ท่องไปในกระแสแห่งความคิดอันประหลาดตลอดกาล...ตามลำพัง
ในปีเดียวกันนั้น Steeve Jobs ผู้โด่งดัง ได้คุยกับ Rob Janoff อาร์ตไดเรคเตอร์ของบริษัท Rigis McKena เพื่อให้ช่วยออกแบบโลโก้ของแอปเปิ้ลได้ใหม่ โดย Rob ได้เริ่มจากการร่างภาพขาวดำของผลแอปเปิ้ลก่อน จากนั้นจึงเพิ่มรอยกัด หรือ Bite ที่พ้องเสียงกับคำว่า Byte เข้าไป เพื่อให้ดูคล้ายกับผลแอปเปิ้ลมากกว่าที่จะมองเป็นผลมะเขือเทศ เมื่อได้รูปทรงของแอปเปิ้ล Rob ได้ไอเดียจากเครื่อง Apple II ที่สามารถแสดงผลเป็นสีได้ จึงเพิ่มสีสันเข้าไปในโลโก้ ส่วนสาเหตุที่เป็นสีรุ้งนั้นเป็นเพราะ Steeve Jobs ต้องการให้รูปลักษณ์ของบริษัทดูสดใสและมีชีวิตชีวา โดยโลโก้รูปแบบนี้จะมีการปรับเปลี่ยนสีสันให้ตรงกับรูปแบบสินค้าในแต่ชนิดอีกด้วย ก่อนที่สุดท้ายจะกลายมาเป็นโลโก้แบบที่เห็นในปัจจุบัน ซึ่งมีชื่อเรียกว่า The monochrome Apple ที่เริ่มใช้ในปี 1998 โดยเป็นช่วงที่ Apple เปลี่ยนโฉมของสินค้าใหม่เกือบทั้งหมด
Shell
อีกหนึ่งแบรนด์ที่มีอายุกว่า 100 ปี นั่นคือ Shell โดยคำว่า " เชลล์ " ปรากฏขึ้นครั้งแรกในปี 1891 ซึ่งใช้เป็นเครื่องหมายการค้าน้ำมันก๊าด โดยที่มาของคำว่า " เชลล์ " มาจากการที่เจ้าของบริษัทเคยทำธุรกิจเล็กๆ เกี่ยวกับการจำหน่ายวัตถุโบราณและเปลือกหอย ซึ่งโลโก้รูปหอยเชลล์นี้ก็ได้มีวิวัฒนาการเปลี่ยนไปตามแต่ละยุคสมัยดังที่เห็นในภา
ส่วนสาเหตุที่เลือกใช้สีแดงและเหลือง เนื่องจากต้องการใช้สีสันสดใสและโดดเด่นจากคู่แข่ง รวมถึงในช่วงนั้นได้มีการติดต่อทำการค้ากับชาวสเปนในรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นหลัก จึงตัดสินใจที่จะใช้สีแดงและเหลือง ซึ่งเป็นสีในธงชาติของสเปน
IBM
บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รวมถึงให้บริการด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศรายใหญ่ของโลก มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Big Blue ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา โดยโลโก้ของ IBM นั้นจะใส่ลูกเล่นเข้าไปในตัวหนังสือมาโดยตลอด แต่โลโก้ที่เราน่าจะคุ้นเคยกันมากที่สุดคือโลโก้ที่เริ่มใช้ในปี 1972 ซึ่งเป็นตัวอักษรสีฟ้าสลับขาวเป็นชั้นๆ โดยใช้ฟ้อนต์ของบริษัทเองที่ชื่อว่า Beton Bold ซึ่งโจทย์ที่นักออกแบบได้รับคือการออกแบบโลโก้ให้เห็นภาพลักษณ์ของควมรวดเร็วและมีการเคลื่อนไหว ทำให้ได้รูปแบบโลโก้ออกมาเป็นดังภาพครับ
PEPSI
ซึ่งในปี 1905 เป๊ปซี่ได้เปลี่ยนดีไซน์ของโลโก้หลังจากที่เครื่องดื่มเริ่มเป็นที่นิยม โดยยังคงความคลาสสิคไว้ ก่อนจะปรับอีกเล็กน้อยในปี 1907 หลังจากเป๊ปซี่ได้ขยายสาขาจาก 15 เป็น 40 สาขาในเวลาเพียง 2 ปี โลโกนี้ถูกใช้มาเป็นระยะเวลากว่า 30 ปี จนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือปี 1940 จึงเปลี่ยนโลโก้อีกครั้ง โดยโลโก้แบบนี้ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 แบรนด์ที่น่าจดจำแห่งศตวรรษด้วย
ในปี 1950 ได้มีการนำฝาจีบมาออกแบบเป็นโลโก้ใหม่ และเป๊ปซี่ไม่ได้ทำโฆษณาโดยยึดจุดเด่นทางด้านราคาอีกต่อไป แต่เปลี่ยนมาพูดถึงไลฟ์สไตล์มากขึ้น และในปี 1962 ผู้นำทางสังคมชาวอเมริกันร่วมสมัย ได้อ้างว่าเป๊ปซี่เป็นสัญลักษณ์ของพวกเขา ภายใต้แนวคิด "มาเถิด! คุณคือคนยุคเป๊ปซี่" (Come Alive! You're in the Pepsi Generation") แคมเปญนี้ถูกปล่อยออกมาในตอนต้นของช่วงยุค 60s พร้อมกับเปลี่ยนมาใช้โลโก้ใหม่ในช่วงปี 1962 โดยยังมีฝาจีบเป็นจุดเด่นเช่นเคย
โลโก้ของเป๊ปซี่ถูกปรับปรุงเรื่อยมา จนในปี 1998 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโลโก้อีกครั้ง โดยมีคอนเซปต์ "Generation Next" เพื่อเฉลิมฉลองอายุครบ 100 ปีของเป๊ปซี่ และเป็นการต้อนรับศตวรรษใหม่ โดยมีภาพลักษณ์ใหม่ที่เรียกว่า "Globe" ซึ่งภาพทรงกลม 3 มิติ โดดเด่นจากพื้นหลังที่เป็นภาพน้ำแข็ง ก่อนที่จะถูกลดทอนรายละเอียดโลโก้จนเหลือเพียงรูปวงกลมแบบในปัจจุบัน
เห็นไหมครับว่าแบรนด์ดังระดับโลกล้วนให้ความสำคัญกับการออกแบบโลโก้ ซึ่งช่วยสื่อสารความเป็นตัวแบรนด์ได้อย่างดี ดังนั้นก่อนเริ่มธุรกิจใดๆ อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับการออกแบบโลโก้ เพราะโลโก้ทีดี จะช่วยให้แบรนด์ของคุณเป็นที่จดจำครับ